เมนู

อรรถกถาปฐมวิตถารสูตร



สูตรที่ 5.

คำว่า ตโต มุทุตเรหิ คือ พึงทราบความเจือกันด้วย
อำนาจวิปัสสนา จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งห้าที่เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นวิปัสสนินทรีย์
ของอรหัตมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น เป็นวิปัสสนินทรีย์ของอันตราปรินิพพายี
ที่อ่อนกว่านั้นก็เป็นของอุปหัจจปรินิพพายี ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอสังขาร
ปรินิพพายี ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสสังขารปรินิพพายี. ที่อ่อนกว่านั้น
ก็ย่อมชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์ของอุทธังโสตอกนิฏฐคามี. สำหรับในฐานะนี้
พึงชักเอาแต่ความเจือปนกันทั้งห้าอย่างที่ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคเท่านั้นออกมา.
คือว่า วิปัสสนินทรีย์ของอันตราปรินิพพายี อันแรก อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์
ของอรหัตมรรค ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอันตราปรินิพพายีอันที่สอง ที่อ่อน
กว่านั้น ก็เป็นของอันตราปรินิพพายีชนิดที่สาม ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของ
อุปหัจจปรินิพพายี ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นวิปัสสนินทรีย์ของอุทธังโสตอกนิฏฐ
คามี ของอสังขารปรินิพพายี และของสสังขารปรินิพพายี ชน 5 พวก
เหล่านี้แหละ. ส่วนความเจือปนอีก 3 อย่าง เป็นอินทรีย์ของสกทาคามิมรรค.
จบอรรถกถาปฐมวิตถารสูตรที่ 5

6.ทุติยวิตถารสูตร



ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์



[884] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
[885] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์
5 ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์
5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี
เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดัง
พรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความ
ต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล.
จบทุติยวิตถารสูตรที่ 6

สูตรที่ 6 และที่ 7 นี้นัยอันท่านกล่าวไว้เสร็จแล้ว. แต่ใน 3 สูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงวิปัสสนินทรีย์ อันเป็นส่วนเบื้องต้นไว้เลย.